วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

第 1 課 : 自分の研究~♡

                  สวัสดีค่าาา เพื่อนๆ กลับมาพบกับ げるげる เป็นครั้งที่สองเเล้วนะคะ หลังจากขึ้นอืด ดองบล็อคมานานเกิน จนได้รับเสียงเรียกร้องอย่างหนาเเน่นจากเพื่อนๆรอบข้างว่า อัพซักทีเถอะเเก ฮ่าาาา วันนี้ก็เลยขอมาอัพซักหน่อย 
                 บทความอันนี้ก็เป็นบทความอันเเรกของ げるげるเลยยย เป็นบทความที่ได้จากการที่อาจารย์สุดสวยเเละใจดีที่สุดในสามโลก(เจ้าเก่า) ได้สั่งให้เขียนรายละเอียดหัวข้อที่เราต้องการวิจัยให้มากขึ้น เพื่อใช้ในการเเนะนำตัว เเล้วก็เอาไปลงใน LANG-8 เพื่อให้คนญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเเก้จุดผิดเเละเกลาภาษาให้ค่ะ
                 หัวข้อวิจัยของ げるげるก็ตามนี้เลยค่ะ


                 ก็สรุปได้ว่าหัวข้อที่ げるげる สนใจจะทำวิจัยก็คือ การใช้ へえ ของคนไทยเปรียบเทียบกับคนญี่ปุ่น ที่เลือกทำเรื่องนี้เพราะว่าตัวเองชอบติด การพูดへえ เป็น 相槌 ตลอด รู้สึกว่าเวลาคนญี่ปุ่นพูดอะไรมา มันต้องอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องเเบบตอบรับตลอดเวลา เเล้วเวลาตัวเองฟังเขาพูดไม่รู้เรื่องหรือไม่รู้จะพูดอะไรดี ก็มักจะพูด へえ ไว้ก่อน ซึ่งบางทีใช้ไป คนญี่ปุ่นก็ทำหน้างงบ้าง ตกใจบ้าง げるげる ก็งงกลับสิคะ ก็ไม่รู้ว่าตัวเองพูดเเล้วดูไม่เหมาะสมรึเปล่า คือเรื่อง相槌 เป็นเรื่องที่ げるげる ไม่ถนัดเป็นอย่างมาก ที่โรงเรียนก็ไม่ได้สอนการใช้ 相槌 เป็นกิจลักษณะ げるげるก็เลยคิดว่าอยากจะทำวิจัยเรื่องนี้ อยากรู้ว่าสถานการณ์ไหนที่เราไม่ควรพูดตอบรับด้วย へえ ไปค่ะ 
                 หลังจากที่ げるげる ได้โพสต์อธิบายหัวข้อวิจัยที่อยากทำลงไปที่ LANG-8 ปุ๊ป ก็มีคนญี่ปุ่นใจดีสองท่านมาตอบให้ปั๊บเลยค่ะ รู้สึกซึ้งใจเป็นอย่างมากกก คิดว่าจะไม่มีคนมาเเก้ให้ เพราะตัวเองยังไม่ค่อยได้ไปเเก้ภาษาไทยให้คนอื่นเท่าไหร่ คะเเนนสะสมก็อาจจะน้อย ไม่น่าเด้งขึ้นไปอยู่ต้นๆให้คนมาเเก้ได้ค่ะ T-T 
                โดยผู้ที่มีจิตใจงดงามทั้งสองท่านที่สละเวลาอันมีค่ามาเเก้ไขให้ げるげる ก็มีชื่อว่า คุณ Yukihiro กับ คุณ Green ค่ะ



ก็พบว่ามีจุดที่ผิด ได้เเก่
1.ในประโยคเเรกคือ 専門領域は日本人の「へえ」の使い方とタイ人の「へえ」の使い方の比較対象について研究しています。สามารถเเก้ได้สองวิธีคือ

    1.1 私の専門領域は日本人の「へえ」の使い方とタイ人の「へえ」の使い方の比較対象について研究しています することです。
    1.2 私は専門領域は日本人の「へえ」の使い方とタイ人の「へえ」の使い方の比較対象について研究しています 

ซึ่งจะเห็นได้ว่าเหตุผลที่ต้องเเก้เช่นนี้คือ ประธานของประโยคจะต้องขนานไปกับคำกริยา หรือคำลงท้ายของประโยค โดยหากขึ้นต้นประธานเป็นคำนาม ก็จะต้องลงท้ายประโยคด้วยคำนาม หากประโยคจบด้วยกริยาซึ่งในที่นี้กริยาคือ 研究しています ซึ่งเป็นสกรรมกริยา ที่ตัวげるげるต้องเป็นผู้กระทำ ไม่ใช่専門領域เป็นคนกระทำ ซึ่งคุณ Green ก็ได้เเสดงความคิดเห็นให้ว่าถ้าลงท้ายด้วย研究していますเเล้วไม่ขึ้นประโยคด้วย 私はจะตลกมากค่ะ

2. なぜこのテーマに決まったかと言うと คุณ Green ก็ช่วยเเก้จาก 決まった เป็น 決めた ซึ่งก็คิดว่าเห็นด้วย เพราะว่าวิจัยเรื่องนี้ ตัว  げるげる เป็นคนเลือกตัดสินใจที่จะทำเอง การใช้ 決めたจะช่วยเเสดงภาพความตั้งใจของเราได้ดีกว่า 決まった ที่อาจจะเป็นคนอื่นคิดหัวข้อนี้ให้เราก็ได้ หรืออาจมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เราต้องมาทำวิจัยเรื่องนี้ค่ะ

3. どんな場面も ---> どんな場面も  ในประเด็นนี้ที่คุณ Green ได้เเก้มาให้ げるげる ก็คิดว่าน่าจะเป็นเพราะで น่าจะสื่อความได้เหมาะสมมากกว่า สื่อถึงขอบเขตในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ในที่นี้คือขอบเขตของสถานการณ์ใดๆก็ตาม ซึ่งหากใช้ に อาจจะดูเจาะจงเป็นจุดสถานที่มากเกินไป ซึ่งคำว่า 場面 ไม่ได้ระบุเป็นจุดให้เห็นภาพชัดเจน จึงควรใช้ で มากกว่าค่ะ

ทั้งนี้ คุณ Green ก็ใจดีมากๆ มีเเนะนำเรื่องการใช้ へえ ให้ げるげるด้วยว่าへえ สามารถใช้พูดทั่วไปกับบรรดาผองเพื่อนได้ เเต่ควรจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เป็นทางการค่ะ

ก็สรุปได้ว่า การได้เอาเนื้อหาหัวข้อที่ต้องการวิจัยไปโพสต์ลง LANG-8 ครั้งนี้ ก็ช่วยให้げるげるได้ตระหนักเห็นข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆที่ตัวเองอาจจะมองข้ามไปค่ะ ก็รู้สึกขอบคุณผู้สนับสนุนทักษะทางภาษาญี่ปุ่นให้เเก่げるげる คือ คุณ Yukihiro เเละคุณ Green มากๆ เลยค่ะ เเล้วของเพื่อนๆล่ะคะ เป็นอย่างไรกันบ้าง โดนเเก้บานเลยไหมคะ~ ฮ่าาาา

เอาเป็นว่าก็ขอจบบทความอันเเรกของ げるげる เเต่เพียงเท่านี้ หวังว่าเพื่อนๆที่อาจจะยังใช้ไวยากรณ์ต่างๆผิดเเบบ げるげる ก็จะได้เรียนรู้ไปด้วยกันนะคะ เเล้วเจอกันใหม่บทความหน้า เร็วๆนี้เลยจ้าา อันนยองง:)))

                                                                                                                                                                                                       げるげる



2 ความคิดเห็น:

  1. そうですか、タイの方で「へえ」を多用する方がいるんですね。今まで意識したことはありませんでしたが、これから気にしてみようと思います。

    ตอบลบ
  2. 返信遅れましたー
    コメントありがとうございます^^
    前は私も何の話でもよく「へえ」を打ってしまいましたが、これからは使いすぎないように、気をつけていきたいと思います。

    ตอบลบ