วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

第 6 課 : I CAN CHANGE! (I see)

 หลังจากบทความที่แล้วที่ทิ้งท้ายไว้ว่าตัวเองต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน รอบนี้ げるげる ก็ไปปรับปรุงมาแล้วค่ะ รู้สึกภาษาดูดีขึ้น เพราะสำนวนนี่เอามาจากเวอร์ชั่นคนญี่ปุ่นทั้งนั้น ฮ่าาาา เอาเป็นว่ามาดูวิวัฒนาการ การเล่าเรื่องของ げるげる รอบปรับปรุงกันเลยดีกว่าค่ะ

  四コマ漫画で、登場人物は一人の赤ちゃんと一匹の犬です。まず、一コマ目で、犬が寝ています。赤ちゃんがその犬の背中に乗って遊ぼうと思っています。続いて、二コマ目では、赤ちゃんが犬の前へハイハイで忍び寄ってきましたが、あと一歩のところで、犬が突然目を覚ましてしまいました。「しまった」と赤ちゃんはびっくりしました。三コマ目では、犬と顔を合わせてしまって乗れなくなったので、「ああ、どうしよう~どうやったら気づかれないのかな…あ、今度は犬の尻尾の方だったらきっと乗れるでしょ!」と赤ちゃんはそう思って、犬の後ろに回り込むことにしました。すると、四コマ目では、尻尾の方に回り込んだはずなのに、またまた犬と顔を合わせてしまいました。赤ちゃんは大ショック!実は犬は静かに寝たがるし、赤ちゃんと遊びたがらないので、寝ている向きを変えて逃げきったつもりでした。犬も大変びっくりしたでしょうね。赤ちゃんも犬もお互いから逃げたくても逃げられないというのがこの漫画のオチです。
内省
 
คิดว่ารอบแรกที่ได้อธิบายไป แม้จะมีให้คิดและเล่าเป็นภาษาไทยก่อน แต่ก็ทำได้ไม่ดี เพราะดูรูปแล้วไม่เข้าใจเนื้อเรื่องเท่าไหร่ แต่พอได้ฟังอาจารย์และความคิดจากเพื่อนๆรอบข้าง ก็ทำให้เข้าใจเนื้อเรื่องมากขึ้น เช่น จริงๆแล้ว เด็กทารกคลานเป็นวงกลมรอบๆเพื่อต้องการอ้อมไปขี่ตัวหมาจากด้านหลัง ซึ่งในรูปก็มีคำใบ้เป็นหาง แต่ในรอบแรกที่อธิบาย นอกจากไม่รู้เรื่องแล้วก็ยังไม่ค่อยรู้คำศัพท์หลายๆคำ เช่นคำว่าคลาน ซึ่งใช้คำว่าはいながらไป  แต่จริงๆควรใช้คำว่า はいはいหรือคำว่าคลานอ้อมไปเป็นวงรอบก็ไม่รู้ รอบแรกเลยใช้คำว่า走るซึ่งก็คิดว่าผิดแต่ก็ไม่รู้ว่าจะใช้คำว่าอะไรแทนดี พอได้มาดูเวอร์ชั่นที่คนญี่ปุ่นเล่าก็ทำให้ได้เรียนรู้ศัพท์มากมาย เช่น犬の周りを一周ハイハイで回るหรือ回り込む อีกเรื่องที่รู้สึกว่าได้เรียนรู้เป็นอย่างมากคือการที่คนญี่ปุ่นจะนิยมใช้รูปてしまう และมีการแสดงมุมมองของตัวละครชัดเจนผ่านการใช้てきる/ていく ซึ่งตัวเองไม่ได้ใช้รูปเหล่านี้ไปเลยในการเล่า นอกจากนี้ยังมีเรื่องการจบเรื่อง ที่คนญี่ปุ่นมักจบด้วยการสรุปเช่นという話です หรืออาจใช้การแสดงความคิดเห็นหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่องก็ได้ค่ะ ซึ่งคิดว่าทำให้ช่วยจบเนื้อเรื่องได้ไม่ห้วนดีค่ะ จากการได้อ่านวิธีการเล่าเรื่องแบบคนญี่ปุ่นครั้งนี้ ก็คิดว่าได้เรียนรู้ทั้งคำศัพท์มากมาย และเทคนิคในการเล่าเรื่องเล็กๆน้อยๆ สำหรับการเล่าเรื่องในครั้งหน้าไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม ก็คิดว่าจะลองไปประยุกต์ใช้ดูค่ะ
เจอกันใหม่บทความหน้านะค๊าาา จ๊วฟฟฟ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น